วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความสำคัญของสารสนเทศ
สารสนเทศแท้จริงแล้วย่อมมีความสำคัญต่อทุกสิ่งที่เกี่ยวข้อง เช่น ด้านการเมือง การปกครอง ด้านการศึกษา ด้าน เศรษฐกิจ ด้านสังคม ฯลฯ ในลักษณะดังต่อไปนี้
  1. ทำให้ผู้บริโภคสารสนเทศเกิดความรู้ (Knowledge) และความเข้าใจ (Understanding) ในเรื่องดังกล่าว ข้างต้น
  2. เมื่อเรารู้และเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องแล้ว สารสนเทศจะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจ (Decision Making) ใน เรื่องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
  3. นอกจากนั้นสารสนเทศ ยังสามารถทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหา (Solving Problem) ที่เกิดขึ้นได้อย่าง ถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ทันเวลากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ระบบสารสนเทศที่ใช้ในองค์กรมีกี่ประเภท

ระบบสารสนเทศที่ใช้ในองค์กร สามารถแบ่งเป็น 6 ประเภท คือ
1. ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ (Transaction Processing System : TPS)
ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ มักเป็นการประมวลผลต่อวัน เช่น การรับ – จ่ายบิล ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบรายรับ – จ่ายสินค้า ระบบนี้เป็นระบบสารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับ การพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
ลักษณะเด่นของระบบ TPS คือ การทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน ซึ่งระบบนี้เกือบทั้งหมดใช้การประมวลผลแบบออนไลน์ และสิ่งที่องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบนี้ คือ
- ลดจำนวนพนักงาน
- องค์กรจะมีการบริการที่สะดวกรวดเร็ว
- ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS)
ระบบ สารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารที่ต้องการ การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการช่วยงานแบบต่อวัน MIS จึงมีความสามารถในการคำนวณเปรียบเทียบข้อมูล ซึ่งมีความหมายต่อการจัดการและบริหารงานเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นระบบนี้ยังสามารถสร้างสารสนเทศที่ถูกต้องทันสมัย
คุณสมบัติของระบบ MIS คือ
- ระบบ MIS สนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน
- ระบบ MIS จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่างๆ ในองค์กร
- ระบบ MIS จะช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูงเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ
- ระบบ MIS จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงขององค์กร
- ระบบ MIS ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
3. ระบบช่วยตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)
ระบบช่วยตัดสินใจ หมายถึง ระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียมสารสนเทศ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ หากเป็นการใช้โดยผู้บริหารระดับสูง เรียกว่า “ระบบสนับสนุนการตัดสินในเพื่อผู้บริหารระดับสูง” (Executive Support System : ESS) บางครั้งสารสนเทศที่ TPS และ MIS ไม่สามารถช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้จำเป็นต้องพัฒนาระบบช่วยตัดสินใจ DSS ขึ้น เพื่อช่วยในการตัดสินใจภายใต้ผลสรุปและการเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งอื่น ทั้งภายในและนอกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการรวมบริษัท การขยายโรงงานใหม่ เป็นต้น
คุณสมบัติของระบบ DSS คือ
- ระบบ DSS จะต้องช่วยผู้บริหารในกระบวนการการตัดสินใจ
- ระบบ DSS จะต้องถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบกึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอนได้
- ระบบ DSS จะต้องสามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับแต่จะเน้นที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์
- ระบบ DSS มีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความสามารถในการจำลองสถานการณ์และมีเครื่องมือในการวิเคราะห์สำหรับช่วย เหลือผู้ทำการตัดสินใจ
- ระบบ DSS ต้อง เป็นระบบที่โต้ตอบกับผู้ใช้ได้ สามารถใช้งานได้ง่ายผู้บริหารต้องสามารถใช้งานโดยพึ่งความช่วยเหลือจากผู้ เชี่ยวชาญน้อยที่สุดหรือไม่ต้องพึ่งเลย
- ระบบ DSS ต้องสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการข่าวสารในสภาพการณ์ต่างๆ
- ระบบ DSS ต้องมีกลไกช่วยให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
- ระบบ DSS ต้องสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลขององค์กรได้
- ระบบ DSS ต้องทำงานโดยไม่ขึ้นกับระบบการทำงานตามตารางเวลาขององค์กร
- ระบบ DSS มีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับรูปแบบการบริหารแบบต่าง ๆ
4. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS)
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภท พิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ ใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง
คุณสมบัติของระบบ EIS
- มีการใช้งานบ่อย
- ไม่ต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
- ความยืดหยุ่นสูงสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
- การใช้งานใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
- การสนับสนุนการตัดสินใจไม่มีโครงสร้างแน่นอน
- ผลลัพธ์ที่แสดงจะเป็นตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
- การใช้งานภาพกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆ
- ความเร็วในการตอบสนองรวดเร็วทันทีทันใด
ข้อดีของระบบ EIS
1. ง่ายต่อผู้บริหารระดับสูงในการใช้งาน
2. การใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์
3. ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการ
4. ทำให้สามารถเข้าในสารสนเทศได้ดีขึ้น
5. มีการกรองข้อมูลให้ประหยัดเวลา
6. ทำให้ระบบสามารติดตามสารสนเทศได้ดีขึ้น
ข้อด้อยของระบบ EIS
1. มีข้อจำกัดในการใช้งาน
2. อาจทำให้ผู้บริหารจำนวนมากรู้สึกว่าได้รับข้อมูลมากเกินไป
3. ยากต่อการประเมินผลประโยชน์ที่ได้จากระบบ
4. ไม่สามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนได้
5. ระบบอาจนะใหญ่เกินกว่าที่จะจัดการได้
6. ยากต่อการรักษาข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
7. ก่อให้เกิดปัญหาการรักษาความลับของข้อมูล
5. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System : OAS)
ระบบ สำนักงานอัตโนมัติ หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้บุคลากรน้อยที่สุด โดยอาศัยเครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเชื่อมโยงข่าวสารระหว่าง เครื่องมือเหล่านั้นเข้าด้วยกัน OAS มีจุดมุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ใช้กระดาษข่าวสารถึงกันด้วยข้อมูลทาง อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange) แทน ซึ่งมีรูปแบบในการใช้งาน 2 ลักษณะ คือ
1. รูปแบบของระบบงานพิมพ์และการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การสื่อสารด้วยข้อความ E – mail , FAX
2. รูปแบบการประชุมทางไกลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การประชุมทางไกลแบบมีแต่เสียง (Audio Conferencing) การประชุมทางไกลแบบมีทั้งภาพและเสียง (Video – Conferencing)
สำนักงานที่จัดว่าเป็นสำนักงานอัตโนมัติ ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ คือ
1. Networking System คือ ระบบข่ายงานที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างกันทั่วองค์กร
2. Electronic Data Interchange คือ การสื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างกน โดยอาศัยสัญญาณข้อมูลข่าวสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบข่ายงาน
3. Internet Working (Internet) คือ การรวมตัวกันของระบบข่ายงาน ที่กระจายอยู่ทั่วโลกจนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่
4. Paperless System คือ ระบบที่ไม่ใช้กระดาษ
อาทิ Post Of Sale (POS) เป็นการขายแบบมีการบันทึกรายการขายและรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวกับสินค้าทันทีที่มีการขาย ณ จุดขายนั้นๆ
Electronic Funds Transfer (EFT) เป็นระบบการโอนเงินอัตโนมัติของธนาคารโลก

6. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Artificial Intelligence / Expert System : AI/ES)
ระบบ ผู้เชี่ยวชาญ หมายถึง ระบบที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่งคล้าย กับมนุษย์ ระบบนี้ได้รับความรู้จากมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่งเก็บไว้ในระบบ คอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์เหตุผล เพื่อตัดสินใจ ความรู้ที่เก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์นี้ประกอบด้วย ฐานความรู้ (Knowledge Bass) และกฎข้อวินิจฉัย (Inference Rule) ซึ่ง เป็นความสามารถเฉพาะที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถตัดสินใจได้เอง เช่น การวินิจฉัยความผิดพลาดของรถจักรดีเซลไฟฟ้าโดยใช้คอมพิวเตอร์
ที่ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา | Information Technology For Education
อ.ชัชวาลย์ ชุมรักษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
จากเว็บ

การบ้าน

ความายของสารนิเทศ
คำในภาษาไทยที่มีความหมายว่า ข่าวสาร ข้อมูล วิชาการ แหล่งความรู้ เอกสาร ล้วนแล้วแต่แปลเกือบจะใกล้เคียงกัน บางคำอาจใช้แทนกันได้ บางครั้งก็อาจเกิดความสับสนว่า จะใช้คำไหนดีในภาษาอังกฤษมีคำที่เรียกใช้อยู่คำหนึ่งซึ่งตรงกับสังคมยุคข่าวสาร คือ คำว่า Information และเรียกวิชาที่เกี่ยวข้องกับ Information ว่า Information Science
สมาคมห้องสมุดอเมริกันให้คำจำกัดความของคำว่า Information ว่า หมายถึง ความคิด ข้อเท็จจริง และผลงาน ที่เกิดขึ้นจากจิตใจทั้งหมด ซึ่งมีวิธีกาาติดต่อสื่อสาร มี การจดบันทึกรวบรวม มีการตีพิมพ์เผยแพร่ หรือมีวิธีการแจกจ่ายทั้งอย่างเป็นทางการ และ ไม่เป็นทางการ ในทุกรูปแบบ (Young, 1983, p. 117)
คำว่า "Information" ซึ่งบัญญัติความหมายโดย Prytherch (1987 : 381) สรุปได้ว่า คือ ข่าวสารข้อมูลที่ได้รับการบันทึกบนกระดาษ หรือวัสดุอื่น ๆ และใช้ประโยชน์เพื่อการสื่อสาร และ Palmer (1987, p. 6) ให้ความหมายที่สั้นกระทัดรัดว่า คือข้อมูลซึ่งใช้ในการตัดสินใจ
ส่วนคำในภาษาไทย แปลคำว่า Information คือ ข่าวสาร เรื่องราว ข้อความรู้ ข้อสนเทศ สารนิเทศ ความรู้ (อัมพร ทีขะระ, 2528, หน้า 160) ราชบัญฑิตยสถาน (2524, หน้า 37) บัญญัติศัพท์ว่า สารนิเทศ แต่ก็มีการใช้คำว่า สนเทศ ซึ่งให้หมายถึง คำสั่ง ข่าวสาร ใบบอก (ราชบัณฑิตยสถาน, 2525, หน้า 768) ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว ยังมีความหมายไม่ครอบคลุมถึงคำว่า information ในภาษาอังกฤษ
เมื่อพิจารณาความหมายของคำว่า " information" ในภาษาอังกฤษ และ "สารนิเทศ" ในภาษาไทย แล้ว นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ (2526, หน้า 115) ได้สรุปว่า หมายถึง ข่าวข้อเท็จจริง ข้อมูล ตลอดจน ความรู้ซึ่งได้มีการบันทึกไว้ทั้งในรูปของสิ่งตีพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ วัสดุย่อส่วน เทปโทรทัศน์ เทปแม่เหล็ก และจานแม่เหล็ก เป็นต้น ข้อสนเทศ ซึ่งได้บันทึกไว้นี้เป็นสิ่งสำคัญ ที่นำมาใช้เพื่อประกอบการวินิจฉัยสั่งการ การวางแผน การศึกษาวิจัย การพัฒนาอาชีพ และอื่น ๆ ของบุคคลในทุกวงการและทุกระดับห้องสมุดและ ศูนย์สารนิเท
มหศอย่างถูกต้อง สมบูรณ์และตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด และทันกับเวลาที่ต้องการด้วย

คำอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำว่า information ได้แก่ คำว่า documentation และ documentalistics ซึ่งนิยม ใช้กันในศูนย์สารนิเทศประเทศตะวันตก แต่ก็ยังมีความหมายไม่ครอบคลุมไปถึงความหมายของคำว่า information เพราะคำทั้งสองเน้นหนักไปทางความหมายของ "เอกสาร" จึงมีผู้บัญญัติคำว่า information ซี่งเป็นคำใหม่ และ ก็ยังไม่ได้เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป (นวนิตย์ อินทรามะ, 2518, หน้า 67) โดยสรุป ตามความหมายที่กล่าวมาแล้ว information จึงตรงกับคำว่า สารนิเทศ
ความสำคัญของสารนิเทศ
สารนิเทศมีความสำคัญและจำเป็นต่อมนุษย์ในสังคมสารนิเทศ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งห้องสมุด หรือศูนย์สารนิเทศ ล้วนแล้วแต่เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของสารนิเทศใน การใช้ประโยชน์รวม 5 ประการ (สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์, 2515, หน้า 2-3) คือ
1. เพื่อการศึกษา (Education) สารนิเทศที่จัดเก็บและให้บริการในห้องสมุด และศูนย์สารนิเทศทั่ว ๆ ไป ล้วนแล้วแต่ให้ ประโยชน์ในการเก็บข้อมูลเบื้องต้นต่อการศึกษา ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ความหมายของคำว่าการศึกษามีความหมายกว้าง ไม่เน้นถึงความหมายเพื่อการศึกษาอยู่แต่ในโรงเรียน และสถาบันการศึกษาอื่น ๆ เท่านั้น แต่ยังหมายความรวมถึง การศึกษาด้วย ตนเองอีกด้วย สารนิเทศเพื่อการศึกษาได้แก่ หนังสือ แบบเรียน ตำราเรียน คู่มือครู หนังสือประกอบการเรียนการสอน และจากสภาพสาร นิเทศที่เปลี่ยนไปมีสื่อสารนิเทศประเภทโสตทัศนวัสดุเข้ามามีบทบาทต่อการเรียนการสอน เช่นการใช้วีดีทัศน์ ประกอบการเรียน การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยสอนเป็นต้น สารนิเทศเพื่อการศึกษา จึงเป็นสื่อสำคัญเพื่อการพัฒนาคน ทางด้านการศึกษา
2. เพื่อให้ความรู้ (Information) คนในสังคมมีความจำเป็นต้องทราบความ เปลี่ยนแปลงไปในสังคม ต้องทราบข่าวในสังคม ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน การติดต่อสื่อสารในสังคม แต่ละวันจะได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง สารนิเทศทุกประเภทล้วนแล้วแต่ให้ข่าวสาร ที่เกิดขึ้น ในสังคม โดยเฉพาะสารนิเทศประเภทวารสาร หนังสือพิมพ์ ตลอดจนสื่อสารนิเทศ ประเภทวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม ล้วนแล้วแต่มีบทบาทอย่างสูง ต่อการติดตามข่าวใน สังคมที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน สารนิเทศต่าง ๆ จึงมีความสำคัญต่อการขจัดความสงสัย ในเรื่อง ใคร่รู้ของเหตุการณ์ในสังคมให้หมดสิ้นไป
3. เพื่อการค้นคว้า (Research) ในยุคสังคมข่าวสารปัจจุบัน สารนิเทศที่ตอบสนองในเรื่องการค้นคว้า วิจัย มีบทบาทอย่างสูง ต่อการพัฒนาคน และพัฒนาประเทศในแต่ละประเทศต่างพยายามสนับสนุน งบประมาณในการทำวิจัย และ การค้นคว้าทาง เทคโนโลยี ต่างๆ สารนิเทศทางด้านการศึกษาค้นคว้า ไม่ว่าจะจัดทำให้บริการอยู่ในรูปใด เช่น บัตร สาระสังเขป สมุดสถิติ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญในการก่อให้เกิดสารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าที่ทันสมัย และนำไปใช้ ในการพัฒนาประเทศทุก ๆ ด้านได้ ต่อไป
4. เพื่อความจรรโลงใจ (Inspiration) สารนิเทศต่างๆ นอกจากผู้ใช้จะได้ประโยชน์ทางด้านการได้ สารนิเทศเพื่อการศึกษา ได้รับความรู้แล้ว สารนิเทศบางประเภท และบางชนิดยังอำนวยประโยชน์ ก่อให้เกิดความจรรโลงใจ ทำให้เกิดความสุขทางจิตใจ เช่น การอ่านหนังสือวรรณกรรมที่สำคัญ ช่วยก่อให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้งในความดีงามใน ความคิดของผู้อื่น
5.เพื่อความบันเทิง (Recreation) สังคมสารนิเทศในปัจจุบัน มีสื่อสารนิเทศเพื่อความบันเทิง ในการพักผ่อนหย่อนใจมากๆ แต่ละชนิดล้วนแล้วแต่ตอบสนองสาร นิเทศเพื่อความบันเทิงส่วนตัวหรือครอบครัว เช่น การอ่านหนังสือที่ชื่นชอบเป็นการส่วนตัว หรือการเพลิดเพลินชมรายการจากโทรทัศน์ หรือ ฟังเพลงที่ชื่นชอบจากวิทยุ สื่อสารนิเทศเพื่อ การบันเทิง มีการผลิตมากมาย เพื่อสนองความต้องการ ของผู้ใช้สารนิเทศประเภทนี้อย่างทั่วถึง และอำนวยความสะดวกสบายต่อการใช้เพื่อความบันเทิงได้อย่างเต็มที่ 

แนะนำตัวกับอาจารณ์





ชื่อ  นายกฤษฎา  จันทีนอก  ชื่อเล่น  โจ้
เรียนสาขา  พืชศาสตร์ ว.ท.บ  1/2
มหาวิทยาลัย  ราชมงคลอิสาน วิทยาเขต สุริน
จบจาก  โรงเรียน ประทาย  อ.ประทาย จ.นครราชสีมา 30181
บ้านเลขที่ 49 หมู่12 บ ดอนอีลุ่ม ต ตลาดไทร อ ประทาย จ นครราชสีมา 30180
เบอโทร 0801603854
ขอบคุณที่มาของภาพ


ขอบคุณทีมาของวีดีโอ