วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การบ้าน

ความายของสารนิเทศ
คำในภาษาไทยที่มีความหมายว่า ข่าวสาร ข้อมูล วิชาการ แหล่งความรู้ เอกสาร ล้วนแล้วแต่แปลเกือบจะใกล้เคียงกัน บางคำอาจใช้แทนกันได้ บางครั้งก็อาจเกิดความสับสนว่า จะใช้คำไหนดีในภาษาอังกฤษมีคำที่เรียกใช้อยู่คำหนึ่งซึ่งตรงกับสังคมยุคข่าวสาร คือ คำว่า Information และเรียกวิชาที่เกี่ยวข้องกับ Information ว่า Information Science
สมาคมห้องสมุดอเมริกันให้คำจำกัดความของคำว่า Information ว่า หมายถึง ความคิด ข้อเท็จจริง และผลงาน ที่เกิดขึ้นจากจิตใจทั้งหมด ซึ่งมีวิธีกาาติดต่อสื่อสาร มี การจดบันทึกรวบรวม มีการตีพิมพ์เผยแพร่ หรือมีวิธีการแจกจ่ายทั้งอย่างเป็นทางการ และ ไม่เป็นทางการ ในทุกรูปแบบ (Young, 1983, p. 117)
คำว่า "Information" ซึ่งบัญญัติความหมายโดย Prytherch (1987 : 381) สรุปได้ว่า คือ ข่าวสารข้อมูลที่ได้รับการบันทึกบนกระดาษ หรือวัสดุอื่น ๆ และใช้ประโยชน์เพื่อการสื่อสาร และ Palmer (1987, p. 6) ให้ความหมายที่สั้นกระทัดรัดว่า คือข้อมูลซึ่งใช้ในการตัดสินใจ
ส่วนคำในภาษาไทย แปลคำว่า Information คือ ข่าวสาร เรื่องราว ข้อความรู้ ข้อสนเทศ สารนิเทศ ความรู้ (อัมพร ทีขะระ, 2528, หน้า 160) ราชบัญฑิตยสถาน (2524, หน้า 37) บัญญัติศัพท์ว่า สารนิเทศ แต่ก็มีการใช้คำว่า สนเทศ ซึ่งให้หมายถึง คำสั่ง ข่าวสาร ใบบอก (ราชบัณฑิตยสถาน, 2525, หน้า 768) ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว ยังมีความหมายไม่ครอบคลุมถึงคำว่า information ในภาษาอังกฤษ
เมื่อพิจารณาความหมายของคำว่า " information" ในภาษาอังกฤษ และ "สารนิเทศ" ในภาษาไทย แล้ว นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ (2526, หน้า 115) ได้สรุปว่า หมายถึง ข่าวข้อเท็จจริง ข้อมูล ตลอดจน ความรู้ซึ่งได้มีการบันทึกไว้ทั้งในรูปของสิ่งตีพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ วัสดุย่อส่วน เทปโทรทัศน์ เทปแม่เหล็ก และจานแม่เหล็ก เป็นต้น ข้อสนเทศ ซึ่งได้บันทึกไว้นี้เป็นสิ่งสำคัญ ที่นำมาใช้เพื่อประกอบการวินิจฉัยสั่งการ การวางแผน การศึกษาวิจัย การพัฒนาอาชีพ และอื่น ๆ ของบุคคลในทุกวงการและทุกระดับห้องสมุดและ ศูนย์สารนิเท
มหศอย่างถูกต้อง สมบูรณ์และตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด และทันกับเวลาที่ต้องการด้วย

คำอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำว่า information ได้แก่ คำว่า documentation และ documentalistics ซึ่งนิยม ใช้กันในศูนย์สารนิเทศประเทศตะวันตก แต่ก็ยังมีความหมายไม่ครอบคลุมไปถึงความหมายของคำว่า information เพราะคำทั้งสองเน้นหนักไปทางความหมายของ "เอกสาร" จึงมีผู้บัญญัติคำว่า information ซี่งเป็นคำใหม่ และ ก็ยังไม่ได้เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป (นวนิตย์ อินทรามะ, 2518, หน้า 67) โดยสรุป ตามความหมายที่กล่าวมาแล้ว information จึงตรงกับคำว่า สารนิเทศ
ความสำคัญของสารนิเทศ
สารนิเทศมีความสำคัญและจำเป็นต่อมนุษย์ในสังคมสารนิเทศ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งห้องสมุด หรือศูนย์สารนิเทศ ล้วนแล้วแต่เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของสารนิเทศใน การใช้ประโยชน์รวม 5 ประการ (สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์, 2515, หน้า 2-3) คือ
1. เพื่อการศึกษา (Education) สารนิเทศที่จัดเก็บและให้บริการในห้องสมุด และศูนย์สารนิเทศทั่ว ๆ ไป ล้วนแล้วแต่ให้ ประโยชน์ในการเก็บข้อมูลเบื้องต้นต่อการศึกษา ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ความหมายของคำว่าการศึกษามีความหมายกว้าง ไม่เน้นถึงความหมายเพื่อการศึกษาอยู่แต่ในโรงเรียน และสถาบันการศึกษาอื่น ๆ เท่านั้น แต่ยังหมายความรวมถึง การศึกษาด้วย ตนเองอีกด้วย สารนิเทศเพื่อการศึกษาได้แก่ หนังสือ แบบเรียน ตำราเรียน คู่มือครู หนังสือประกอบการเรียนการสอน และจากสภาพสาร นิเทศที่เปลี่ยนไปมีสื่อสารนิเทศประเภทโสตทัศนวัสดุเข้ามามีบทบาทต่อการเรียนการสอน เช่นการใช้วีดีทัศน์ ประกอบการเรียน การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยสอนเป็นต้น สารนิเทศเพื่อการศึกษา จึงเป็นสื่อสำคัญเพื่อการพัฒนาคน ทางด้านการศึกษา
2. เพื่อให้ความรู้ (Information) คนในสังคมมีความจำเป็นต้องทราบความ เปลี่ยนแปลงไปในสังคม ต้องทราบข่าวในสังคม ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน การติดต่อสื่อสารในสังคม แต่ละวันจะได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง สารนิเทศทุกประเภทล้วนแล้วแต่ให้ข่าวสาร ที่เกิดขึ้น ในสังคม โดยเฉพาะสารนิเทศประเภทวารสาร หนังสือพิมพ์ ตลอดจนสื่อสารนิเทศ ประเภทวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม ล้วนแล้วแต่มีบทบาทอย่างสูง ต่อการติดตามข่าวใน สังคมที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน สารนิเทศต่าง ๆ จึงมีความสำคัญต่อการขจัดความสงสัย ในเรื่อง ใคร่รู้ของเหตุการณ์ในสังคมให้หมดสิ้นไป
3. เพื่อการค้นคว้า (Research) ในยุคสังคมข่าวสารปัจจุบัน สารนิเทศที่ตอบสนองในเรื่องการค้นคว้า วิจัย มีบทบาทอย่างสูง ต่อการพัฒนาคน และพัฒนาประเทศในแต่ละประเทศต่างพยายามสนับสนุน งบประมาณในการทำวิจัย และ การค้นคว้าทาง เทคโนโลยี ต่างๆ สารนิเทศทางด้านการศึกษาค้นคว้า ไม่ว่าจะจัดทำให้บริการอยู่ในรูปใด เช่น บัตร สาระสังเขป สมุดสถิติ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญในการก่อให้เกิดสารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าที่ทันสมัย และนำไปใช้ ในการพัฒนาประเทศทุก ๆ ด้านได้ ต่อไป
4. เพื่อความจรรโลงใจ (Inspiration) สารนิเทศต่างๆ นอกจากผู้ใช้จะได้ประโยชน์ทางด้านการได้ สารนิเทศเพื่อการศึกษา ได้รับความรู้แล้ว สารนิเทศบางประเภท และบางชนิดยังอำนวยประโยชน์ ก่อให้เกิดความจรรโลงใจ ทำให้เกิดความสุขทางจิตใจ เช่น การอ่านหนังสือวรรณกรรมที่สำคัญ ช่วยก่อให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้งในความดีงามใน ความคิดของผู้อื่น
5.เพื่อความบันเทิง (Recreation) สังคมสารนิเทศในปัจจุบัน มีสื่อสารนิเทศเพื่อความบันเทิง ในการพักผ่อนหย่อนใจมากๆ แต่ละชนิดล้วนแล้วแต่ตอบสนองสาร นิเทศเพื่อความบันเทิงส่วนตัวหรือครอบครัว เช่น การอ่านหนังสือที่ชื่นชอบเป็นการส่วนตัว หรือการเพลิดเพลินชมรายการจากโทรทัศน์ หรือ ฟังเพลงที่ชื่นชอบจากวิทยุ สื่อสารนิเทศเพื่อ การบันเทิง มีการผลิตมากมาย เพื่อสนองความต้องการ ของผู้ใช้สารนิเทศประเภทนี้อย่างทั่วถึง และอำนวยความสะดวกสบายต่อการใช้เพื่อความบันเทิงได้อย่างเต็มที่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น